top of page
gmp3.png

ยาน้ำบรรเทาปวดเมื่อย

บรรเทา :

อาการปวดเมื่อยทุกชนิด เจ็บ บวม กล้ามเนื้ออักเสบ เส้นเอ็นชัก เส้นเลือดขอด แผลสด แมลงกัดต่อย สูดดมแก้หวัด วิงเวียน

วิธีใช้ :

เขย่าขวดก่อนใช้ สามารถใช้ดม ใช้ทาได้วันละหลายครั้ง ควรล้างทำความสะอาดบริเวณที่มีอาการ และเช็ดให้แห้งก่อนทา

ข้อควรระวัง :

อย่าให้เข้าตาและปาก

กงม่าเพียว

ค.ศ. 1964

จากไต้หวันสู่สยาม

2_0.png

ครอบครัวของอากงเฉินชางหลิน (陳長林) และอาม่าเฉินซวีอิงเฟย (陳許英妃)ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมยาง ณ นครไทเป ไต้หวัน อยู่เดิม กระทั่งอากงตัดสินใจเดินทางข้ามทะเลจากเกาะไต้หวันมาถึงแผ่นดินสยามเพียงลำพัง เพื่อมองหาลู่ทางขยับขยายกิจการ

 

โดยเริ่มต้นทำธุรกิจซื้อมาขายไปในย่านเยาวราช ซึ่งสามารถทำกำไรได้ดี จนมีเงินทุนก้อนใหญ่เพียงพอจะชักชวนอาม่าให้เดินทางตามมา และริเริ่มก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมยางขึ้นบนถนนปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมกับคัดเลือกพนักงานฝีมือดีจากโรงงานที่ไต้หวันมาประจำการที่นี่ 

จากจุดเริ่มต้น

กงม่าเพียว

ยาน้ำบรรเทาปวดเมื่อย กงม่าเพียว อยู่คู่คนไทยมากว่าสามทศวรรษ จากการแจกจ่าย โดยที่ไม่เคยมีการจำหน่ายเลยแม้แต่ครั้งเดียว

จุดกำเนิดจากภูมิปัญญานับร้อยปีของแพทย์แผนโบราณชาวไต้หวัน ได้ปรุงยานี้จากสมุนไพรสารพัดชนิด ใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อย อักเสบ ลดอาการบวม และได้ส่งมอบสูตรที่สั่งสมมาให้กับ อากงชางหลิน และ อาม่าซวีอิงเฟย เพื่อต้มใช้ภายในครอบครัวตระกูลเฉิน ต่อมาได้มีการแจกจ่ายไปสู่คนที่ต้องการ ในนาม กงม่าเพียว ที่สื่อความหมายว่า ยาน้ำบรรเทาปวดยี่ห้ออากง-อาม่า

 

จากความตั้งใจของ อากงชางหลิน อาม่าซวีอิงเฟย และบุตร ที่อยากให้ผู้คนรอบตัวมีสุขภาพดี มาวันนี้ รุ่นหลาน ซึ่งเป็นเจเนอเรชั่นที่สาม ได้เข้ามาสานต่อปณิธานของคนรุ่นแรก กงม่าเพียว จึงเปรียบได้ดั่งตัวแทนของครอบครัวเฉินในการมอบสิ่งดีๆ กลับคืนสู่สังคม

3_0_edited.jpg

ค.ศ. 1991

แจกยาฟรีครั้งแรก

1_0.png

ในที่สุดวันนั้นก็มาถึง ภายในบ้านของครอบครัวเฉินตลบอบอวลไปด้วยสมุนไพรกลิ่นหอมรสเผ็ดนานาชนิดจากการต้มยาน้ำสมุนไพร โดยมีอากงกับอาม่าเป็นโต้โผ และมีลูกๆ หลานๆ เป็นลูกมือคอยช่วยกรอกยาลงขวดเล็กๆ พะยี่ห้อ กงม่าเพียว นำไปเดินสายแจกจ่ายที่สวนลุมพินีและศาลท้าวมหาพรหม (แยกราชประสงค์) ในวันหยุดสุดสัปดาห์ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของครอบครัว

ร่วมมือร่วมใจใส่ลงขวด

กงม่าเพียว เป็นที่เลื่องลือจนรู้กันทั่วว่าครอบครัวนี้ต้มยาบรรเทาปวดมาแจกฟรี และใช้ดีเห็นผลอย่างมาก ทำให้ทุกครั้งที่นำยาไปแจก จะมีคนทุกเพศทุกวัยต่างมาต่อแถวเพื่อรอรับ บางคนนำไปฝากปู่ย่าตายายที่บ้าน บางคนนำขวดยาเดิมที่ใช้หมดเกลี้ยงกลับมาขอเติมยาใหม่ กระทั่งเจ้าของร้านสมุนไพรก็นำวัตถุดิบปรุงยามาแลกเป็นยากลับไป หรือเจ้าของร้านบรรจุภัณฑ์ก็นำขวดเปล่ามาให้ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเสมอมา ทำให้ กงม่าเพียว กลายเป็นตำนานแห่งความร่วมมือร่วมใจ

33 ปี ที่อยากรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย

ปัจจุบันครบรอบ 33 ปี นับตั้งแต่วันที่แจกยาฟรีครั้งแรก กงม่าเพียว ขวดแล้วขวดเล่าถูกแจกจ่ายออกไปมากเกินจะนับจำนวนไหว ใครที่เคยได้ไปใช้แล้วติดอกติดใจในสรรพคุณก็ต้องบอกลูกหลานให้ตามหายาน้ำบรรเทาปวดขวดนี้ แต่กลับพบเจอได้ยากยิ่ง เพราะไม่มีวางจำหน่ายที่ไหน ไม่มีแม้ช่องทางติดต่อบนขวดยา ทำให้การแจกจ่ายขาดช่วงไป เรื่องราวนี้ติดอยู่ในใจทั้งผู้ให้และผู้รับ

7_0.png

จุดกำเนิดยาน้ำสีอำพัน
'กงม่าเพียว'

5_0.png

ย้อนความก่อนมาเมืองไทย อาม่าเฉินซวีอิงเฟย มานะบากบั่นทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมยางบนเกาะไต้หวันตั้งแต่สมัยสาวๆ ทำให้เกิดอาการอักเสบ ปวดและบวมบริเวณมือและตามข้อต่อต่างๆ จากการทำงานหนัก และปวดอย่างเรื้อรังต่อเนื่องมานาน แม้จะพบหมอตามโรงพยาบาลให้รักษา หรือซื้อหาหยูกยาอะไรมาใช้ อาการปวดก็ยังไม่ทุเลาลง

นับเป็นโชคดีของอาม่าที่มีมิตรสหายมาจากตระกูลแพทย์แผนโบราณที่เชี่ยวชาญด้านการฝังเข็มรักษาอาการ และพวกเขายังได้คิดค้นยาน้ำสีอำพันสูตรเฉพาะขึ้นมาเพื่อบรรเทารักษาอาการปวดของคนไข้ ปรากฏว่าหลังจากอาม่าได้ทายานั้นทุกวัน อาการปวดที่เรื้อรังมานานกลับหายเป็นปลิดทิ้ง อีกทั้งก่อนที่เจ้าของสูตรปรุงยาจะเสียชีวิตลง พวกเขาได้ถ่ายทอดตัวยาสูตรนี้ส่งต่อให้กับอาม่าด้วยไมตรีจิต ซึ่งกลายเป็นความประทับใจไม่รู้ลืม

ค.ศ. 2024

ส่งต่อสูตร จากรุ่นสู่รุ่น สานต่อความตั้งใจของอากงอาม่า

8_0.png

กว่า 3 ทศวรรษ จาก 3 เจเนอเรชั่น ของตำนานยาน้ำกงม่าเพียว ที่ผลิตขึ้นจากสูตรเฉพาะนับร้อยปี เรื่องราวนี้ก่อร่างสร้างความทรงจำและความประทับใจเอาไว้มากมาย เพราะสิ่งที่อากงและอาม่าตั้งมั่น ไม่ใช่เพียงการต้มยาแจก แต่คือการสานต่อความศรัทธาจากเจ้าของสูตรที่อยากให้คนไข้ปราศจากโรคภัย ตามคำที่อาม่าเคยบอกไว้ว่า “เราใช้แล้วไม่เจ็บไม่ป่วย เราก็ต้องส่งต่อสิ่งดีๆ คืนสู่สังคม” ลูกหลานจึงพร้อมจะสานต่อความมุ่งมั่นตั้งใจเหล่านั้น ด้วยการสืบทอดสูตรปรุงยาให้คงอยู่ และนำไปแจกจ่ายต่อไป

bottom of page